วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบทดสอบมาตรฐานการเรียนรู้ บทที่ 2


แบบทดสอบมาตรฐานการเรียนรู้ บทที่ 2
คำสั่ง ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย × ทับลงหน้าตัวเลขของตัวเลือกที่นักเรียนคิดว่าถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดคือประโยชน์ของการศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก                                                             
1. ทำให้รู้ส่วนประกอบต่างๆ ภายในโลก
2. เตรียมหาวิธีป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
                3. เตรียมหาวิธีป้องกันการเกิดภูเขาไฟระเบิด
                4. เตรียมที่จะป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
2. ทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเกิดของแผ่นดิน มหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมอยู่ในหินบนเปลือกโลกคือ
                1. ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป
                2. ทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทวีป
                3. ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค
                4. ผิดหมดทุกข้อ
3. หลักฐานที่นักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกของเรามีกระบวนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
                1. การปรากฏรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก
                2. การเกิดแผ่นดินไหว
                3. การเกิดภูเขาและภูเขาไฟ
                4. ถูกหมดทุกข้อ
4. สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง คือข้อใด
1. มนุษย์
2. ธรรมชาติ
3. สัตว์และพืช
4. สิ่งแวดล้อม
5. สาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ คือข้อใด
                1. การปะทุของหินแข็งในชั้นเปลือกโลก
                2. การไหลวนของหินหนืดในชั้นเนื้อโลก
                3. การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุในแก่นโลกชั้นใน
                4. การแทรกตัวขึ้นมาของแร่ธาตุจากแก่นโลกชั้นนอก
6. ผู้ที่ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน คือผู้ใด
                1. จอห์น ดัลตัน
                2. อัลเฟรด เวเกเนอร์
                3. คานท์ และลาพาส
                4. เจมส์ ยีนส์
7. อัลเฟรด เวเกเนอร์ ได้ตั้งชื่อแผ่นดินทั้งหมดบนโลกผืนแผ่นดินเดียวว่าอะไร
                1. พันเจีย
                2. ทวีป
                3. วงแหวนแห่งไฟ
                4.  แผ่นดินมีพลัง
8. ผืนแผ่นดินเดียวบนโลกต่อมาแยกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือข้อใด
                1. ยุโรปและอเมริกา
                2. เอเชียและยุโรป
                3. ลอเรเซียและกอนด์วานา
                4. ออสเตรเลียและอัฟริกา
9. แผ่นดินของทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปและทวีปอัฟริกาแยกห่างกันมากขึ้นตลอดเวลา เพราะเหตุใด
                1. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เนื่องจากการไหลของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
                2. หินหนืดในชั้นเนื้อโลกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแตกระหว่างเปลือกโลก
                3. เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวบริเวณนี้บ่อยครั้ง
                4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
10. หลักฐานข้อใดสนับสนุนแนวคิดของ อัลเฟรด เวเกเนอร์
ก. สภาพทางภูมิศาสตร์ของทวีปต่างๆ ที่เคลื่อนต่อกันได้
                ข. การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ตามชายฝั่งที่สอดคล้องกัน
                ค. โครงสร้างของหินที่มีลักษณะเหมือนกัน
                ง. การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่างๆ ของโลก
     ข้อใดถูกต้อง
                1. ข้อ และ
                2. ข้อ , และ
                3. ข้อ , และ
                4. ข้อ , , และ
11. ผิวโลกในบริเวณต่างๆ มีลักษณะเป็นอย่างไร
                1. ที่ราบมีลักษณะเหมือนกัน
                2. ส่วนที่เป็นภูเขามีลักษณะที่เหมือนกัน
                3. มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ
                4. ส่วนที่เป็นที่เป็นพื้นน้ำจะมีอุณหภูมิปกติที่เหมือนกัน
12. ปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปอัฟริกามีการเคลื่อนที่อย่างไร
                1. เคลื่อนที่เข้าหากัน
                2. เคลื่อนที่แยกออกจากกัน
                3. เคลื่อนที่ในทิศทางที่แตกต่างกัน
                4. ยังไม่มีการเคลื่อนที่แต่อย่างใด
13. เมื่อนำแผ่นภาพทวีปมาต่อกัน ทวีปใดที่สามารถต่อกันได้พอดี
                1. อเมริกากับยุโรป
                2. เอเชียกับออสเตรเลีย
                3. อเมริกาใต้กับอัฟริกา
                4. อัฟริกากับออสเตรเลีย
14. แนวหินใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก เกิดใต้มหาสมุทรอะไร
                1. แอตแลนติก
                2. อาร์กติก
                3. แปซิฟิก
                4. อินเดีย
15. แผ่นธรณีภาคที่เป็นแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรมีกี่แผ่น
                1. 5 แผ่น
                2. 6 แผ่น
                3. 9 แผ่น
                4. 13 แผ่น
16. นักธรณีวิทยาแบ่งเปลือกโลกออกเป็นแผ่นๆ ทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่   มีกี่แผ่น
                1. 5 แผ่น
                2. 6 แผ่น
                3. 8 แผ่น
4. 9 แผ่น
17. แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่รองรับส่วนใด
                1. ทวีป
                2. มหาสมุทร
                3. ทวีปและมหาสมุทร
                4. เกาะในมหาสมุทร
18. จากการพบหินบะซอลต์ที่รอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก อายุของหินที่อยู่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างไร
                1. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก
                2. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุน้อยกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก
                3. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุน้อยกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ในรอยแยก
                4. ข้อ 2 และ 3 ถูก
คำชี้แจง ให้ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 19 – 23
ก.       แผ่นยูเรเซีย
ข.      แผ่นแปซิฟิก
ค.      แผ่นออสเตรเลีย
ง.       แผ่นอัฟริกา
จ.       แผ่นอเมริกา
ฉ.      แผ่นแอนตาร์กติก
19. แผ่นธรณีภาคใดที่รองรับทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
                1.
                2.
                3.
                4.
20. แผ่นธรณีภาคใดที่รองรับพื้นน้ำเพียงอย่างเดียว
                1. และ
                2. และ
3. และ
4.
21. ประเทศไทยถูกรองรับด้วยแผ่นธรณีภาคใด
                1.
                2.
                3.
                4.
22. แผ่นธรณีภาคแผ่นใดที่รองรับทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ
                1. และ
                2. และ
                3. และ
                4. , , , และ
23. การชนกันของแผ่นธรณีภาคในข้อใดเป็นผลให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย
                1. และ
                2. และ
                3. และ
                4. และ
24. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค มีลักษณะเป็นอย่างไร
ก. บางส่วนแยกห่างออกจากกัน
                ข. บางส่วนเข้าใกล้กันหรือกระทบกัน
                ค. บางส่วนมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง
                ง. บางส่วนถูกดันให้โค้งงอขึ้น
                จ. บางส่วนหลอมตัวเป็นแมกมาในชั้นเนื้อโลก
     ข้อใดถูกต้อง
                1. ข้อ , และ
                2. ข้อ , , และ
                3. ข้อ , , และ
                4.  ข้อ , , , และ
25. การที่แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง เนื่องจากแมกมาแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแตก พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการเกิดนี้ว่าอะไร
                1. การขยายตัวของพื้นทะเล
                2. การขยายตัวของมหาสมุทร
                3. การขยายตัวของพื้นทวีป
                4. การขยายตัวของแผ่นธรณีภาค
26. เทือกเขากลางมหาสมุทรเกิดขึ้นได้อย่างไร
                1. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน
                2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
                3. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
                4. ถูกหมดทุกข้อ
คำชี้แจง ให้ใช้ตัวเลือกข้างล่างตอบข้อ 27 – 29
                1. ภูเขาไฟกลางมหาสมุทร
                2. รอยคดโค้งบนเทือกเขา
3. เกิดเป็นเทือกเขาสูงแนวยาว
4. เกิดสันเขากลางมหาสมุทร
27. การที่แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรอีกแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดสิ่งใดขึ้น .....
28. การที่แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป จะทำให้เกิดสิ่งใดขึ้น ....
29. การที่แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปอีแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดสิ่งใดขึ้น .....
30. เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เกิดจากแผ่นธรณีภาคใดชนกัน
                1. แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
                2. แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
                3. แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
                4. ข้อ 2 และ 3 ถูก
31. สิ่งใดที่ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน
                1. การเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน
                2. ความร้อนของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
                3. การเคลื่อนที่ของหินหลอมละลายในชั้นแก่นโลก
                4.  ถูกหมดทุกข้อ
32. นักธรณีวิทยาพบซากดึกดำบรรพ์ของเฟิร์น ชื่อ กลอสซอฟเทอริส ที่ทวีปใดบ้าง
                1. อินเดียและอเมริกาใต้
                2. อัฟริกาและออสเตรเลีย
                3. แอนตาร์กติก
                4. ถูกหมดทุกข้อ
33. จากหลักฐานการค้นพบพืช และสัตว์เลื้อยคลาน กระจายอยู่ในทวีปต่างๆ ที่ห่างไกลกัน นักเรียนคิดว่าปรากฏการณ์นี้อธิบายถึงเรื่องอะไร
                1. เดิมทวีปต่างๆ นั้นเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน
                2. แผ่นธรณีภาคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                3. การเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปต่างๆ
                4. ถูกหมดทุกข้อ
34. นอกจากหลักฐานรอยต่อแผ่นธรณีภาค รอยแยกแผ่นธรณีภาค และการค้นพบซากดึกดำบรรพ์แล้วยังมีหลักฐานใดอีกที่ยืนยันสมมติฐานของเวเกเนอร์
                1. สนามแม่เหล็กโลกโบราณ
                2. การค้นพบภูเขาไฟที่เกิดใหม่ๆ
                3. การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่างๆ
                4. ข้อ 1 และ 3 ถูก
35. นักธรณีวิทยาพบหินที่เกิดจากตะกอนธารน้ำแข็ง ที่บริเวณใดบ้าง
                1. ชายทะเลทางตอนใต้ของอัฟริกา
                2. ชายทะเลทางตอนใต้ของอิเดีย
                3. ชายทะเลทางตอนเหนือของออสเตรเลีย
                4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
36. สมานแม่เหล็กโลกโบราณใช้เป็นหลักฐานเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีอะไร
                1. การแปรสัณฐานของแผ่นธรณีภาค
                2. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
                3. แม่เหล็กโลกในปัจจุบัน
                4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
37. ข้อมูลเบื้องต้นของภาวะสนามแม่เหล็กในอดีตที่นักธรณีวิทมยาใช้ เพื่อหาตำแหน่งดั้งเดิมของพื้นที่ในอดีตได้แก่อะไร
                1. ขั้วของสนามแม่เหล็กโลกในสมัยนั้น
                2. ทิศทาง และความเข้มของสนามแม่เหล็กในสมัยนั้น
                3. ความแข็ง และสีผิวของแม่เหล็กโลกในสมัยนั้น
                4. ถูกหมดทุกข้อ
38. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้าๆ ทำให้เกิดอะไร
                1. แผ่นดินไหว
                2. การแทรกตัวของแมกมา
                3. คลื่นน้ำใต้มหาสมุทร
                4. การเคลื่อนตัวของทวีป
39. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกลักษณะใดที่ต้องใช้เวลานานที่สุด
                1. การเกิดภูเขาไฟ
                2. การเกิดแผ่นดินไหว
                3. การกร่อนโดยกระแสน้ำ
                4. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
40. การที่แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน นักเรียนคิดว่าเกิดจากสาเหตุใด
                1. อัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน
                2. ความร้อนจากชั้นเนื้อโลกถ่ายเทอุณหภูมิไม่เท่ากัน
                3. ความหนาแน่นของชั้นธรณีภาคและเนื้อโลกไม่เท่ากัน
                4. พื้นที่แผ่นธรณีภาคไม่เท่ากัน
41. บริเวณหุบเขาทรุดตัวตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรมีการเคลื่อนตัวของขอบแผ่นธรณีภาคในลักษณะใดที่สำคัญ
                1.เคลื่อนตัวเข้าหากัน
                2. เคลื่อนตัวเฉือนกัน
                3. เคลื่อนตัวมุดลงไปใต้อีกแผ่น
                4. เคลื่อนตัวหนีห่างออกจากกัน
42. เทือกเขหิมาลัย เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรณีภาคแบบใด
                1. การเกิดแผ่นดินไหว
                2. การระเบิดของภูเขาไฟ
                3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก
                4. การแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก

บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
                มนุษย์ได้พยายามศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อหาสาเหตุและวิธีการปรับปรุง แก้ไข  ตลอดจนเตรียมการป้องกันและผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดทฤษฎีต่างๆ หลายทฤษฎีที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน คือ ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค(plate tectonic)
2.1 แผ่นธรณีภาค และการเคลื่อนที่
                ในปี พ.ศ.2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ ดร. อัลเฟรด เวเกเนอร์(Dr.Alfred Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่า ผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย(Pangea) ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด ในเวลาต่อมาพันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรเซียทางตอนเหนือ และกอนด์วานาทางตอนใต้ โดยทวีปทางตอนใต้จะเคลื่อนแตกและแยกออกจากกันเป็นอินเดีย อเมริกาใต้และอัฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ แต่ออสเตเรียยังคงเชื่อมอยู่กับแอนตาร์กติก และอเมริกาเหนือกับยุโรปยังคงติดกัน ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างอีก อเมริกาเหนือและยุโรป จึงแยกจากกันอเมริกาเหนือโค้งเว้าต่อกับอเมริกาใต้ ออสเตเรียก็แยกออกจากแอนตาร์กติก และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชีย

ที่มา http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart_1.jpg

2.2 หลักฐานและข้อมูลทางธรณีภาค
                การที่ ดร. อัลเฟรด เวเกเนอร์ ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน หลักฐานทางธรณีวิทยาในด้านต่างๆ ในปัจจุบันแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันแล้วค่อยๆแยกออกจากกัน ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนดังนี้
     2.2.1 รอยต่อของแผ่นธรณีภาค
                นักธรณีวิทยาได้แบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผ่นทวีป และแผ่นมหาสมุทร ซึ่งทั้ง 2 ประเภทรวมกันมีจำนวน 13 แผ่น
     2.2.2 รอยแยกของแผ่นธรณีภาค และอายุหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร
                ลักษณะโดดเด่นของพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ เทือกเขากลางมหาสมุทร ซึ่งเป็นเหมือนเทือกเขายาวที่โค้งอ้อมไปตามรูปร่างของขอบทวีป ด้านหนึ่งเกือบขนานกับชายฝั่งสหรัฐอเมริกา และอีกด้านหนึ่งขนานกับชายฝั่งของทวีปยุโรปและอัฟริกา นอกจากนั้นเทือกเขากลางมหาสมุทร ยังมีรอยแยกออกเป็นร่องลึกไปตลอดความยาวของเทือกเขาและมีรอยแตกตัดขวางบนสัน เขานี้มากมาย และได้มีการพบหินบะซอลต์ที่บริเวณร่องลึก หรือรอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก และยังพบต่อไปอีกว่า หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก
                จากหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวทำให้อธิบายได้ว่า เมื่อเกิดรอยแยก แผ่นดินจะเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเนื้อของหินบะซอลต์จากส่วนล่างจะถูกดันแทรกเสริมขึ้นมาตรงรอย แยกเป็นเปลือกโลกใหม่ ทำให้ตรงกลางรอยแยกเกิดเป็นหินบะซอลต์ใหม่เรื่อยๆ ดังนั้นโครงสร้างและอายุหินรองรับแผ่นธรณีภาคจึงมีอายุอ่อนสุด บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรมีอายุมากและมากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ขอบทวีป
 ที่มา http://www.thaispaceweather.com/IHY/Earth/images/con3.png
 
นักวิทยาศาสตร์และนักธรณีภาคได้สรุปลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคได้ดังนี้
1)      ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
แนว ขอบเขตของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน เนื่องมาจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้ อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็น หุบเขาทรุด
ใน เวลาต่อมาเมื่อมีน้ำไหลมาสะสมบริเวณรอยแตกเกิดเป็นทะเลและรอยแตกเกิดเป็น ร่องลึก ดังนั้นเมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตกจะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้ มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไป เรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของพื้นทะเล(sea floor spreading) และปรากฏเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร เช่น บริเวณทะเลแดง รอยแยกอัฟริกตะวันออก
ที่มา http://www.chaiyatos.com/geol20.jpg

2)      ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน
ที่มา http://www.chaiyatos.com/geol20.jpg

แนวที่แผ่นธรณีภาคชนกันหรือมุดซ้อนกันจะเป็นไปได้ 3 แบบ คือ
2.1) แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
จะ มีแผ่นธรณีภาคแผ่นหนึ่งมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมตัวกลายเป็นแมกมาและปะทุขึ้นมาบนแผ่นธรณีภาคใต้ มหาสมุทรเกิดเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จะมีลักษณะเป็นร่องใต้ทะเลลึก
ที่มา http://elearning.stkc.go.th/lms/html/earth_science/LOcanada4/403/images/3_1.jpg

                2.2) แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
แผ่น ธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่า จะมุดลงใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่น ที่อเมริกาใต้แถบตะวันตก แนวชายฝั่งโอเรกอน จะมีลักษณะเป็นร่องใต้ทะเลลึก
ที่มา http://elearning.stkc.go.th/lms/html/earth_science/LOcanada4/403/images/3_1.jpg

                2.3) แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปอีกแผ่นหนึ่ง
แผ่น ธรณีภาคทั้งสองมีความหนามาก เมื่อชนกันจึงทำให้ส่วนที่มุดลงอีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่เกิดเป็นเทือกเขาสูง แนวยาวอยู่ในแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่น เทือกเขาหิมาลัย ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป
ที่มา http://elearning.stkc.go.th/lms/html/earth_science/LOcanada4/403/images/3_1.jpg

                3) ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
เนื่อง จากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วย  ทำให้เปลือกโลกใต้มหาสมุทรและบางส่วนของเทือกเขาใต้มหาสมุทรไถลเลื่อนผ่าน และเฉือนกันเกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ขึ้น สันเขากลางมหาสมุทรถูกรอยเลื่อนขึ้นตัดเฉือนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกยาว มีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางสมุทรและหรือร่องใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซับซ้อนเกยกัน ในบริเวณภาคพื้นทวีปหรือมหาสมุทร เช่น รอยเลื่อนซาแอนเดรียส ประเทศสหรัฐอเมริกา รอยเลื่อนอัลไพน์ ประเทศนิวซีแลนด์
ที่มา http://www.chaiyatos.com/geol20.jpg

2.2.3 การค้นพบซากดึกดำบรรพ์
                นักธรณีวิทยาได้สำรวจซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ในทวีปต่างๆ แล้วนำมาเทียบเคียงดูว่าเป็นพืชหรือสัตว์ของซีกโลกหรือซีกโลกใต้ อยู่ในภูมิอากาศร้อนหรือเย็น ตลอดจนความเหมือนกันของชั้นหินที่พบซากเหล่านั้น เพราะถ้าเป็นหินที่เคยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เมื่อแผ่นธรณีภาคแยกจากกันไปลักษณะของซากดึกดำบรรพ์และโครงสร้างของหินก็ ต้องเหมือนกัน
                จากการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของต้นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ชื่อ กลอสซอฟเทอริส(Clossopteris) ที่ทวีปอินเดีย อเมริกาใต้ อัฟริกาออสเตรเลียและทวีปแอตแลนติก เมื่อไปดูแผนที่โลกก็จะพบว่าแต่ละทวีปอยู่ไกลกันมากและมีลักษณะภูมิอากาศแตก ต่างกัน แต่ในอดีตยังมีพืชชนิดเดียวกัน และจากการสำรวจยังพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลื้อยคลานชื่อ มีโซซอรัส(Mesosuarus) ซึ่งโดยปกติจะดำรงชีวิตอยู่ตามลุ่มแม่น้ำจืดแต่กลับมาพบอยู่ส่วนล่างของทวีป อัฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งทวีปทั้งสองอยู่ห่างไกลกันและอยู่ติดทะเล นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของลิงบางพันธุ์ทั้งในทวีปอเมริกา และอัฟริกาแถบฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ที่เป็นเช่นนี้เพราะแต่เดิมปทวีปทั้งสองนี้เชื่อมต่อเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในแต่ละทวีป

ที่มา http://www.thaispaceweather.com/IHY/Earth/images/con7.gif
2.2.4 หลักฐานอื่น
                นอกจากหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมาใน 3 ข้อข้างต้นแล้ว ยังมีหลักฐานที่ยืนยังว่าเดิมแผ่นเปลือกโลกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันอีกคือ
                -การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่างๆ ของโลก เช่น หินที่เกิดจากตะกอนธารน้ำแข็ง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นบนขั้วโลก แต่ปัจจุบันพบหินลักษณะนี้ในบริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของอัฟริกาและ อินเดีย เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมแผ่นเปลือกโลกติดกัน
                -สนามแม่เหล็กโบราณ(paleomagnetism) ใน อดีตเหล็กที่เกิดปนอยู่กับแร่อื่นๆ(ก่อนที่จะมีการแข็งตัวกลายเป็นหิน) จะมีการเรียงตัวในรูปแบบที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กโลกในขณะนั้น ต่อมาเมื่อเหล็กนั้นมีการแข็งตัวกลายเป็นหิน เหล็กนั้นจะมีสมบัติคล้ายเข็มทิศ เมื่อนำตัวอย่างหินซึ่งทราบตำแหน่ง(พิกัด) ที่เก็บ มาวัดหาค่ามุมเอียงเทของชั้นหิน วัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งคำนวณหาค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะได้ข้อมูลเบื้องต้นของภาวะแม่เหล็กในอดีตกาล เช่น ทิศทาง และความเข้มของสนามแม่เหล็กในสมัยนั้น เป็นต้น เมื่อนำข้อมูลมาเขียนกราฟ จะสามารถหาค่าภาวะแม่เหล็กโบราณ ค่าละจิจูดโบราณ ตำแหน่งและขั้วแม่เหล็กโบราณได้ ค่าต่างๆ เหล่านี้จะถูกนำมาแปลความหมาย และคำนวณหาตำแหน่งดั้งเดิมของพื้นที่ในอดีตเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงการ เคลื่อนที่ของแผ่นทวีปต่างๆ
                จากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาจะเห็นว่าทวีปทั้งหลายที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ไม่ ได้มีสภาพอยู่นิ่งกับที่ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน มีผลทำให้พื้นผิวโลกชั้นธรณีภาคแบ่งออกเป็นแผ่นธรณีภาคขนาดต่างๆ กัน ทุกแผ่นกำลังเคลื่อนที่ แต่อัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาควัดค่าได้ยาก เพราะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคนั้นช้ามาก 
สรุป
                จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่า เดิมแผ่นธรณีภาคอยู่ติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน ซึ่งสังเกตได้จากขอบแผ่นทวีปที่สามารถนำมาเชื่อมต่อเป็นจิ๊กซอว์ และแผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคได้ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การเคลื่อนที่ชนกัน การเคลื่อนที่แยกจากกัน และการเคลื่อนที่ผ่านกัน การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นธรณีภาคจะเกิดได้ 3 ลักษณะย่อยๆ คือ แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกก่อให้เกิดเทือกเขาบนพื้นดิน เทือกเขากลางมหาสมุทร การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหว และภูเขาไฟประทุ